1. การฟื้นฟูโดยใช้เครื่องมือทางการแพทย์
1.1 การใช้การประคบร้อน ประคบเย็น
1.3 การบำบัดรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดอาการปวด โดยอาศัยหลักการของการกระตุ้นระบบประสาทเพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวด (Gate control theory of pain) และการเกิดการหลั่งสารลดอาการเจ็บปวด (endogenous opioid) จะเห็นว่าการลดปวดนั้นมีหลายเครื่องมือเลยที่ช่วยลดปวด ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องไหนนั้นขึ้นกับความชอบ และนิสัยของสัตว์แต่ละตัวด้วยค่ะ
1.5การบำบัดรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ เป็นการนำคลื่นแสงมาใช้ เพื่อรักษาการอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ใช้เพื่อลดภาวะเจ็บปวด ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อต่อ ส่งเสริมการหายของแผลเรื้อรังแบะการหายของกระดูกหัก
*ขอขอบคุณรูปภาพจาก หมอตาลรักษาสัตว์
1.6การบำบัดรักษาด้วยเครื่องช็อคเวฟ เป็นการนำคลื่นกระแทกมาใช้เพื่อรักษาอาการปวดเรื้อรัง เหมาะสมกับสัตว์ป่วยที่มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม เป็นต้น
2.การฟื้นฟูโดยการออกกำลังกาย
วิธีนี้เราเริ่มจากการออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวน้อยๆ ไปจนถึงการออกกำลังกายแบบเคลื่อนไหวด้วยตัวเองอิสระ หรือมีอุปกรณ์เสริม โดยมีเป้าหมายให้สัตว์เลี้ยงกลับมาใช้ขาได้ปกติที่สุดเท่าที่เป็นไปได้การออกกำลังกาย ดังนั้นสัตว์ควรทำเป็นประจำสม่ำเสมอนะคะ เราจะเลือกชนิดการออกกำลังกายให้เหมาะกับตัวสัตว์ และอาการป่วยที่เป็นอยู่ โดยการออกกำลังกายนั้นมีเป้าหมายให้สัตว์เลี้ยงกลับมาใช้ขาได้ปกติที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรืออาการเจ็บที่เพิ่มขึ้น เรามาดูตัวอย่างการออกกำลังกายต่อกันค่ะ-การช่วยพยุงยืน (assisited standing exercise) คือ การฝึกยืนโดยอาศัยสายสะพาย ,ลูกบอล หรือล้อเลื่อน (wheel chair) วิธีนี้หมอมักจะสอนให้เจ้าของช่วยฝึกทำขณะที่สัตว์อยู่บ้าน โดยทำเป็นประจำได้ด้วยตัวเจ้าของเองค่ะ
-การฝึกการรับรู้ของขา (propioceptive training) คือ การฝึกการยืน การลงน้ำหนัก โดยการใช้ exercise ball หรือ balance board วิธีนี้เจ้าของก็สามารถทำเองที่บ้านได้ ไม่ยากอีกเช่นกัน
-การจูงเดิน ขึ้นและลงเนินลาดเอียง ขึ้นและลงบันได เจ้าของสามารถพาสุนัขออกไปเดินเล่น บริเวณหมู่บ้าน รอบบ้าน หรือสวนสาธารณะ ในเวลาเช้าและเย็น โดยต้องระวังเว้นในช่วงกลางวันที่มีอากาศร้อนนะคะ
-การฝึกลุก-นั่ง การเดินและวิ่งข้ามสิ่งกีดขวาง
3.ธาราบำบัด (Aquatic therapy ) เป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาโรคในกลุ่มเวชศาสตร์ฟื้นฟูด้วยการให้สัตว์เลี้ยงว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงตัวสัตว์ ส่งผลให้กระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อเคลื่อนไหวได้เต็มที่อย่างอิสระ สม่ำเสมอ รวมทั้งแรงกดของน้ำยังช่วยบีบนวดกล้ามเนื้อ ทำให้ส่วนที่บาดเจ็บมีการออกกำลังโดยไม่เจ็บปวด เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดการบวมของเนื้อเยื่อด้วย
จากที่กล่าวมาทุกคนคงรู้จักกับ “เวชศาสตร์ฟื้นฟูในสัตว์เลี้ยง(Rehabilitation)” มากขึ้นแล้ว หมอหวังว่าทุกคน จะช่วยกันสังเกตน้องหมาน้องแมวของตนเอง หากมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบกระดูก ข้อต่อและระบบประสาท อย่านิ่งเฉยกันนะคะ ปัจจุบันการรักษามีหลายทางเลือกและก้าวหน้าไปมาก รีบพาน้องหมาน้องแมวมาหาคุณหมอกัน ยิ่งเราเจอกันเร็วการรักษาจะยิ่งง่ายขึ้น เพื่อสุดท้ายน้องหมาน้องแมวจะได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างมีความสุขที่สุดกันค่ะ
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
"ทุกความคิดเห็นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์
และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ทุกกรณี"
"ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นโดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็น"