สวัสดีครับ ในที่สุดปี 2019 นี้ก็เริ่มเข้าสู้หน้าร้อนกันแล้ว แม้ว่าจริง ๆ แล้ว ทุกวันนี้ประเทศไทยเรามันก็เหลือแต่หน้าร้อนหน้าเดียวนั่นแหละ...แต่ก็ไอ้ความร้อนนี่แหละ...ที่กระตุ้นให้หมออยากจะแนะนำโรคยอดฮิตที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยกับสัตว์เลี้ยงแสนรักของเพื่อน ๆ ในยามที่อยู่กับสภาวะแวดล้อมอันแสนร้อนแบบนี้ นั่นก็คือ "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" (Heat stroke) นั่นเองครับ
ที่หมอต้องหยิบ เรื่อง โรคลมแดด นี้มาเขียนนั้น เพราะหมอพบว่ามีสัตว์เลี้ยงที่เข้ามารักษาที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลสัตว์ต่าง ๆ ด้วยปัญหานี้บ่อยมาก ๆ และโรคนี้นั้นยังมีความรุนแรงค่อนข้างสูง และทำให้ถึงแก่ชีวิตได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย ถ้าสัตว์ป่วยที่เป็นโรคนี้ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สร้างความเสียใจให้กับเหล่าเจ้าของมานักต่อนักแล้ว
โรคลมแดด เกิดขึ้นจากการที่มีอุณหภูมิในร่างกายของสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และร่างกายของสัตว์ไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายของสัตว์ได้ทัน ความร้อนที่เพิ่มมากขึ้นในร่างกาย จึงไปกระตุ้นกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็น ผลเสียต่อร่างกาย ทำให้ระบบ หรืออวัยวะภายในต่าง ๆ เสียหาย ทำให้สัตว์เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาจนถึงแก่ชีวิตได้
สาเหตุหลัก ที่ทำให้อุณหภูมิในร่างกายของสัตว์สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนระบายไม่ทันนั้นมาจาก สัตว์เหล่านั้นอยู่ท่ามกลางอากาศที่ร้อนมาก เช่น ตากแดดมาเป็นระยะเวลานาน หรือถูกขังในห้องที่มีอากาศร้อนและอากาศไม่ถ่ายเท เป็นต้น นอกจากนี้การออกกำลังกายท่ามกลางอากาศร้อน การขาดน้ำดื่มในวันที่อากาศร้อน ก็ยังเป็นปัจจัยโน้มนำทำให้เกิดโรคลมแดดได้เช่นเดียวกัน
โรคลมแดดสามารถเกิดขึ้นได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก หนูแกสบี้ หนูแฮมสเตอร์ ชูการ์ไกรเดอร์ เฟอเรท หรือแม้แต่ปลาโลมา เป็นต้น ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สัตว์เลี้ยงที่มีร่างกายอ่อนแออยู่แล้ว แก่ชรา อ้วน พันธุ์ขนยาว พันธุ์ที่มีใบหน้าสั้น หรือสัตว์ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมีกลไกการระบายความร้อนที่เป็นกลไกหลัก คือ การระบายความร้อนผ่านทางการหายใจด้อยกว่าสัตว์เลี้ยงทั่วไป ทำให้การระบายความร้อนออกจากร่างกายมีปัญหาและเกิดโรคลมแดดได้
อาการของโรคลมแดด ในตอนเริ่มแรกนั้นพบว่า สุนัขจะอ้าปากหอบหายใจหอบรุนแรง กระวนกระวาย ลิ้นและเหงือกมีสีแดงจัด น้ำลายไหล อาเจียน จับที่ตัว จะพบว่าร้อนกว่าปกติ ถ้าเจ้าของนำปรอทวัดอุณหภูมิเสียบไปที่ทวาร จะพบว่า มีอุณหภูมิมากกว่า 40 °C (105 °F) ในรายที่อาการรุนแรงมากขึ้นจะพบว่า สัตว์จะมีอาการอ่อนแรง เหงือกและลิ้นอาจเปลี่ยนเป็นสีซีด ล้มลงนอน ชัก หรืออาจหมดสติไป ซึ่งอาจเสียชีวิตในเวลาต่อไป ถ้าช่วยเหลือไม่ทันท่วงที
วิธีปฐมพยาบาลสัตว์ป่วยจากโรคลมแดดในเบื้องต้น สามารถทำได้ ดังนี้
เนื่องจากบ้านเรานั้น มีอากาศที่ร้อนอยู่แทบจะตลอดเวลา เจ้าของสัตว์จึงควรรู้จักการป้องกันการเกิดโรคลมแดด ไม่ให้เกิดโรคที่อันตรายนี้ แก่สัตว์เลี้ยงที่เรารัก
วิธีเหล่านี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยทำให้สัตว์เลี้ยงที่เจ้าของรักปลอดภัย จากโรคลมแดดได้
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
"ทุกความคิดเห็นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์
และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ทุกกรณี"
"ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นโดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็น"