อาการที่เจ้าของสามารถสังเกตเห็นได้แต่ไม่ฉุกเฉิน

17 เม.ย. 2560 18386
อาการที่เจ้าของสามารถสังเกตเห็นได้แต่ไม่ฉุกเฉิน

สวัสดีจ้า เจ้าของทั้งหลายต้องเคยไม่แน่ใจใช่มั้ยว่า บางทีที่น้องหมาไม่สบาย โดยเฉพาะตอนกลางคืนเนี่ย เราต้องพาเค้าไปหาหมอทันทีเลยรึป่าว ไอ ค่อกแคก น้ำมูกไหล เราจำเป็นต้องไปหาคุณหมอทันทีเลยรึป่าว บางทีไปถึงแล้ว อ้าว นั่งรอซะนานเชียว ไม่ได้รักษาซะที จะพาลหงุดหงิดกันเปล่า ๆ โน๊ะ ก่อนอื่นต้องขออธิบายก่อนนะว่า เราจะแบ่งภาวะฉุกเฉิน ออกเป็น 3 สี คือ เขียว เหลือง แดง เหมือนในคนเล้ยยยยยยยยย สีแดงคือสีที่วิกฤตและต้องได้รับการรักษาโดยด่วน เพราะอยากนี้บางทีถ้าน้องหมาของเราตกอยู่ในภาวะสีเขียว ก็เลยต้องรอนานไง เผลอ ๆ อาจจะให้รอถึงเช้าเลย เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาทั้งเจ้าของที่ต้องอดหลับอดนอน เรามาดูกันเลยยยย

เราขอแบ่งง่ายๆ เป็น 2 สีนะครับ

  • สีเขียว คือ อาการที่เจ้าของสามารถสังเกตเห็นได้แต่ไม่ฉุกเฉิน (รอตรวจทีหลัง หรือรอไป รพส. ในเช้าวันรุ่งขึ้นได้)
  • ส่วนสีแดง คือ อาการที่อาจสงสัยว่าฉุกเฉิน (ควรเข้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา ณ เวลานั้น ไม่ควรรอ)

อาการที่เจ้าของสามารถสังเกตเห็นได้แต่ไม่ฉุกเฉิน(รอตรวจทีหลัง หรือรอไป รพส. ในเช้าวันรุ่งขึ้นได้)

ซึม เบื่ออาหาร

ซึมลง แต่ยังพอลุกเดินไปมาได้
ไม่ทานอาหาร 1-2 วัน
น้ำหนักลด ผอมลง

กินน้ำเยอะ ฉี่เยอะ

ทานน้ำเยอะ ฉี่เยอะกว่าปกติ

คันยิกๆ มีตุ่ม

คัน มีตุ่ม หรือมีสะเก็ดตามผิวหนัง

อาเจียน ท้องเสีย

อาเจียน หรือท้องเสีย 1-2 ครั้ง แล้วต่อมาปกติ
(สุนัขและแมวอายุ > 6 เดือน)
ไอ จาม ไม่รุนแรง สัตว์เลี้ยงสามารถนอนได้ด้วยตัวเอง

   ถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แน่ใจว่าอาการที่พบนั้นอยู่ในภาวะฉุกเฉิน หรือต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วนหรือไม่ เจ้าของสัตว์ควรปรึกษาสัตวแพทย์ในทุกกรณี  


อาการที่อาจสงสัยว่าฉุกเฉิน (ควรเข้าไปพบสัตวแพทย์เพื่อทำการรักษา ณ เวลานั้น ไม่ควรรอ)

ไข้สูง ตัวร้อน

ซึมจนถึงขั้นอ่อนเพลีย ลุกไม่ขึ้น
เอาแต่นอนไม่ขยับเขยื้อนไปไหน ไม่รู้สึกตัว
มีไข้สูง ตัวร้อนตลอดเวลา หรือลำตัวและขาเย็น

เป็นลมชัก หมดสติ

ตัวสั่นไม่หยุด เกร็ง หรือมีอาการชัก

ไอ จาม

ไอหรือหอบตลอดเวลา
ผุดลุกผุดนั่ง ไม่สามารถนอนหลับได้

เหงือกซีด ลิ้นม่วง

เหงือกหรือเยื่อเมือกบริเวณอื่น ๆ ซีดขาว
ลิ้นเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวหรือม่วง อ้าปากหายใจ
หายใจโดยใช้ท้องช่วย เป็นลม หมดสติ ไม่หายใจ
อาเจียน หรือท้องเสียติดต่อกันต่อเนื่อง

เลือดไหล

มีเลือดออกที่อวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง
เช่น ปาก จมูก ตา ผิวหนัง อวัยวะเพศ หรือออกมากับอาเจียน ปัสสาวะ หรืออุจจาระ

แมลงสัตว์กัดต่อย และสารพิษ

ได้รับสารพิษ หรือยาที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ยาเบื่อหนู ยาฆ่าแมลง ป้อนพาราเซตามอลมา
ถูกแมลงหรือสัตว์มีพิษกัดหรือสัมผัส
เช่น งูเห่า งูเขียวหางไหม้ ตะขาบ แมงมุม คางคก

รถชนหรือตกจากที่สูง

อุบัติเหตุรุนแรง
เช่น ถูกรถชน ตกจากที่สูง ถูกตี ถูกสุนัขกัด

อ.ดร.น.สพ. ถิรวุฒิ คงตาทราย

PhD
ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น

"โปรดอ่านก่อนแสดงความคิดเห็น"
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
Top