สามารถทําได้โดย การตรวจร่างกายโดยสัตวแพทย์ เพื่อทําการฟังเสียงหัวใจที่ผิดปกติ และประเมินสภาพร่างกายอื่นๆ
สัตวแพทย์อาจทําการถ่ายภาพรังสี เพื่อดูขนาดหัวใจที่ผิดปกติ รวมทั้งดูภาวะน้ําท่วมปอด หรือการคั่งของของเหลวในช่องอก และช่องท้อง
ภาพถ่ายรังสี
นอกจากนั้นอาจทําการตรวจเพิ่มเติมด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อทําการตรวจจังหวะการเต้นของหัวใจและลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ หรือโรงพยาบาลสัตว์ของมหาวิทยาลัย
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
อาจสามารถทําการตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือเอกโค่คาร์ดิโอแกรม (echocardiogram) เพื่อทําการตรวจประเมินความผิดปกติของโครงสร้างภายในห้องหัวใจ เช่น ลิ้นหัวใจ หรือรูรั่วภายในห้องหัวใจ หรือก้อนเนื้องอกที่ภายในรวมทั้งภายนอกหัวใจ และยังสามารถใช้ประเมินการทํางานของหัวใจบนภาพเคลื่อนไหวเสมือนจริง และใช้ประเมินความผิดปกติของหัวใจได้ทั้งความผิดปกติแต่กําเนิดและความผิดปกติภายหลังกําเนิด นอกจากนั้นอาจมีการตรวจวินิจฉัยขั้นสูง เช่นการฉีดสีเพื่อดูทิศทางการไหลของเลือด รวมท้ังความผิดปกติภายในหัวใจซึ่งอาจไม่ สามารถตรวจได้จากวิธีคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ซึ่งวิธีการดังกล่าวปัจจุบันจะสามารถทําได้เฉพาะในโรงพยาบาลสัตว์ของมหาวิทยาลัยเท่านั้น
วิธีคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง หรือเอกโค่คาร์ดิโอแกรม (echocardiogram)ขอบคุณรูปภาพทั้งหมดจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
"ทุกความคิดเห็นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์
และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ทุกกรณี"
"ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นโดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็น"