การรักษาโรคหัวใจในปัจจุบันโดยมากจะเป็นการรักษาทางยา เพื่อชะลอไม่ให้สุนัขเข้าสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว ภายหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจสุนัขจําเป็นจะต้องได้รับยาไปตลอดชีวิต และควรเข้ารับการตรวจประเมินสภาพร่างกายและการทํางานของหัวใจโดยสัตวแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับขนาด และชนิดยาตามอาการที่สุนัขแสดง รวมท้ังเฝ้าระวังการทํางานของอวัยวะอื่นๆ เช่น ไต และตับ เนื่องจากหัวใจเป็นศูนย์รวมของการไหลเวียนเลือดภายในร่างกายหากมีปัญหาเกิดขึ้นที่หัวใจย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติที่อวัยวะอื่นๆในร่างกายได้เช่นเดียวกัน
การผ่าตัดหัวใจ ขอบคุณภาพจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สพ.ญ.ดร. สิริลักษณ์ สุรเชษฐพงษ์การผ่าตัดโรคหัวใจอาจทําได้ในบางกรณี เช่นความผิดปกติแต่กําเนิดบางชนิด หรือการเกิดเนื้องอกที่บริเวณใกล้เคียงกับหัวใจ แต่การผ่าตัดจําเป็นต้องใช้ทีมสัตวแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย โดยมากจึงมีการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคหัวใจเฉพาะในโรงพยาบาลสัตว์ในมหาวิทยาลัย ส่วนการรักษาพยาธิหนอนหัวใจสามารถทําได้โดยการฉีดยาฆ่าตัวแก่พยาธิ ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นโรคพยาธิหนอนหัวใจเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้โดยง่าย ส่วนโรคหัวใจชนิดอื่นๆ ยังไม่มีวิธีการป้องกัน ด้วยเหตุนี้สุนัขควรได้รับการตรวจสุขภาพรวมทั้งโรคหัวใจเป็นประจําทุกปี โดยเฉพาะสุนัขที่มีอายุมากกว่า 7 ปี ขึ้นไป ส่วนสุนัขแรกเกิดควรได้รับการตรวจเบื้องต้นว่ามีปัญหาโรคหัวใจหรือไม่เมื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนเข็มแรก เพื่อช่วยให้สุนัขมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น และอยู่ร่วมเป็นสมาชิกหนึ่งในครอบครัวของเราไปอีกนาน สุนัขของท่านควรได้รับการตรวจสุขภาพรวมทั้งคําแนะนําเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเป็นประจําอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะนอกเหนือจากโรคหัวใจแลัว สุนัขอาจป่วยด้วยโรคอื่นๆ ได้เช่นเดียวกับในคน สุนัขจึงต้องการการดูแลสุขภาพไม่ต่างจากในคนเช่นกัน
ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น
1. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์หรือพาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ เป็นอันขาด
2. ห้ามเสนอข้อความหรือเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย ก้าวร้าว ... (อ่านทั้งหมด)
"ทุกความคิดเห็นนั้นไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์
และไม่สามารถนำไปอ้างอิงทางกฎหมายได้ทุกกรณี"
"ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการลบความคิดเห็นโดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของความเห็น"